LoveRenal
  • Home
  • About us
  • สาระน่ารู้
  • ถาม-ตอบ
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะก่อนล้างไต
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะล้างไตแล้ว
  • เคล็ดลับน่ารู้
  • Contact

กินโปรตีนอย่างเข้าใจ เมื่อต้อง "ฟอกไต"

9/11/2019

0 Comments

 
Picture
        คนเป็นไตวายเมื่อได้รับการรักษาโดยการล้างไตแล้ว บางคนเข้าใจผิดคิดว่าสามารถกินอาหารได้ทุกอย่างตามสบาย ไม่ต้องควบคุมอาหารอีกต่อไป เพราะคิดว่ามีเครื่องมือมาช่วยในการขจัดของเสียในร่างกาย 
        ภายหลังจากการล้างไตหรือการฟอกเลือดแล้ว ยังมีของเสียตกค้างอยู่ในร่างกายอีกมากมาย คนเป็นไตวายเมื่อได้รับการรักษาโดยการล้างไต  จึงควรรู้จักควบคุมอาหาร น้ำ และเกลือแร่อย่างถูกต้องด้วย
ผู้ป่วยไตวายที่อยู่ระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องล้างไตเทียม  หรือล้างไตผ่านทางช่องท้อง โดยทั่วไปจะมีการสูญเสียสารอาหารต่างๆ ไปพร้อมๆ กับของเสียที่ถูกกำจัดออกด้วย โดยเฉพาะการเสียโปรตีน และกรดอะมิโนที่จำเป็นกับร่างกายดังนั้น
***คนเป็นไตวายที่ต้องล้างไต ไม่ต้องจำกัดโปรตีนหรืออาหารจำพวกเนื้อสัตว์มาก เหมือนกับตอนที่ยังไม่ได้ล้างไตในทางกลับกันควรกินมากขึ้นด้วย***


        ✅ ผู้ที่เป็นโรคไต และยังไม่ได้ฟอกเลือดควรกินโปรตีน วันละ 0.6-0.8 กรัม ต่อน้ำหนักตัวที่ควรเป็น 1 กิโลกรัม
        ✅ ถ้าบำบัดทดแทนไต ควรกินโปรตีนวันละ 1.1-1.3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว ที่ควรเป็น 1 กิโลกรัม
*ในกรณีที่แพทย์ให้กินกรดอะมิโน ที่จำเป็นเสริมกับอาหารด้วยนั้น ก็อาจจะไม่ต้องกินโปรตีนมากขึ้น 
ปริมาณโปรตีน ที่ควรได้รับ (ล้างไตแล้ว)
- น้ำหนัก 60 กิโลกรัม
- โปรตีนที่ควรกิน = 1.1-1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- ควรกินโปรตีน 1.1 x 60 = 66-72 กรัมต่อวัน

       
✅ โปรตีนที่กินควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงที่ได้จากเนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะเนื้อปลา และไข่ขาว เพราะมีไขมันน้อย ย่อยและดูดซึมได้ง่าย สำหรับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นที่ไม่มีหนังและไม่ติดมัน ก็สามารถกินได้ 
      
✅ การได้โปรตีนเพียงพอหรือไม่  สามารถตรวจสอบได้จากการเจาะเลือด  และตรวจหาโปรตีนในเลือดที่เรียกว่าแอลบูมิน (albumin) ซึ่งค่าการตรวจที่ดีควรจะได้ประมาณ 4 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ถ้าเจาะเลือดแล้วพบว่ามีค่าแอลบูมินต่ำกว่านี้มาก ก็ต้องพยายามกินโปรตีนมากขึ้น การขาดโปรตีนนาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อซูบผอม ภูมิต้านทานโรคต่ำ สุขภาพทรุดโทรม
>> ดูแผนการบริโภคโปรตีน เพิ่มเติมคลิก <<

        นอกจากนี้ร่างกายควรได้รับพลังงานโดยรวมจากอาหารหรือที่เรียกว่าแคลอรีมากเพียงพอด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายนำสารโปรตีนมาใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน โดยทั่วไปควรได้ประมาณวันละ 30-35 กิโลแคลอรี ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. โดยได้จากทั้งอาหารประเภทข้าวแป้งและไขมัน อาหารประเภทแป้งสามารถกินได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน ขนมปัง เป็นต้น 

        การที่จะรู้ว่าเราได้รับพลังงานจากอาหารเพียงพอหรือไม่ ให้ดูจากน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวในที่นี้หมายถึงน้ำหนักแห้ง (dry weight) คือน้ำหนักในภาวะที่ไม่มีการบวมน้ำ ถ้าพบว่าน้ำหนักตัวลดลงเรื่อยๆ ก็แสดงว่ากินอาหารที่ให้พลังงานไม่เพียงพอ ต้องพยายามกินมากขึ้น
 
        นอกจากนี้  ควรเลือกกินอาหารประเภทข้าวแป้งที่ผ่านการขัดสีแล้ว เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสน้อยลง คนเป็นไตวายเรื้อรังมักมีปัญหาการมีฟอสฟอรัสอยู่สูง จึงต้องจำกัดปริมาณที่กิน อาหารที่มีฟอสฟอรัสอยู่มากคือ เมล็ดพืชต่างๆ  เช่น ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว เมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ไข่แดง คนเป็นไตวายเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว เพราะการสะสมฟอสฟอรัสในร่างกายมากๆ จะมีผลต่อระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ และวิตามินดี ทำให้เกิดภาวะกระดูกผุ และอาการกล้ามเนื้ออ่อนเพลียได้ อย่างไรก็ตามแพทย์มักจะสั่งยาที่สามารถจับฟอสเฟต(ฟอสฟอรัส) ให้กินร่วมไปด้วยเพื่อบรรเทาปัญหานี้ 
คนเป็นไตวายที่รักษาด้วยการล้างไตยังต้องจำกัดการบริโภคเกลือแร่โซเดียมและโปตัสเซียมด้วย  การได้โซเดียมหรือกินเค็มมากเกินไปจะทำให้มีน้ำสะสมในร่างกายมากตามไปด้วย เมื่อมีน้ำมากจะเกิดความดันโลหิตสูง น้ำท่วมปอด หรือหัวใจวายได้ง่าย

ขอบคุณข้อมูลจาก thaihealth.or.th
---------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ

LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6

​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต

0 Comments



Leave a Reply.

    Picture
© 2018 Proudly powered by LoveRenal
  • Home
  • About us
  • สาระน่ารู้
  • ถาม-ตอบ
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะก่อนล้างไต
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะล้างไตแล้ว
  • เคล็ดลับน่ารู้
  • Contact