LoveRenal
  • Home
  • About us
  • สาระน่ารู้
  • ถาม-ตอบ
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะก่อนล้างไต
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะล้างไตแล้ว
  • เคล็ดลับน่ารู้
  • Contact

โรคหลอดเลือดสมอง รู้ได้เร็ว รักษาได้ทัน

11/29/2019

0 Comments

 
Picture
LoveRenal - โรคหลอดเลือดสมอง รู้ได้เร็ว รักษาได้ทัน
ภาวะผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก
กลุ่มหนึ่ง ประมาณ 80-90% เป็นภาวะที่ไม่มีเลือดไปเลี้ยงสมองซึ่งอาจจะเกิดจากภาวะหลอดเลือดอุดตันหรือภาวะหลอดเลือดตีบ


กลุ่มที่สอง ประมาณ 15-20% จะเป็นภาวะที่มีเลือดออกในสมองซึ่งโรคที่ทำให้เกิดก็มาจากการฉีกขาดของหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่หลาย ๆ คนเรียก หลอดเลือดฝอยฉีกขาด และอีกประมาณ 5% จะเป็นลักษณะของหลอดเลือดโป่งพองแล้วมันแตก อันนี้อัตราเสียชีวิตค่อนข้างสูง

เพราะฉะนั้น สรุปก็คือ ภาวะหลอดเลือดผิดปกติจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่สมองขาดเลือด กับ กลุ่มที่มีเลือดออกในสมอง


สาเหตุ
โรคหรือภาวะหลอดเลือดในสมองผิดปกติ เราพบได้ตั้งแต่อายุ 20, 30, 40 ไปจนถึงวัยกลางคน ไปจนถึงผู้สูงอายุ สาเหตุรูปแบบของการผิดปกติ มันมีความแตกต่างกันหลายรูปแบบ

ในกลุ่มคนอายุน้อย ๆ อาจจะเป็นลักษณะของความผิดปกติแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติของระดับพันธุกรรมที่ให้หลอดเลือดในสมองผิดปกติเกิดเป็นปาน เกิดมีการต่อกันของหลอดเลือดผิดปกติ

ส่วนในวัยกลางคนก็มักจะเกิดจากการใช้ชีวิตสูบบุหรี่จัดดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนใหญ่สาเหตุหลัก ๆ จะมาจากการสูบบุหรี่ นอกนั้นก็จะเป็นเรื่องของสารเคมีที่ใช้หรือยาที่ใช้ ยาบางอย่างก็ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น มีการอุดตัน หรือมีการอักเสบของหลอดเลือดได้

ส่วนในผู้สูงอายุก็จะเป็นลักษณะของความเสื่อม คือผนังหลอดเลือดมันเสียความยืดหยุ่นไป หรือมีภาวะของโรค เช่น เบาหวาน ความดัน โรคเลือด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในวัยกลางคน และวัยผู้สูงอายุ

สัญญานเตือน

อาการหลักคือ อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง หรือมีการพูดไม่ชัด แต่โอกาสที่มันจะเตือน ระยะเวลามันสั้นมาก บางคนไม่คิดด้วยซ้ำว่า อันนี้คือการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง เพราะจริง ๆ แล้ว อาการปวดศีรษะ อาการคลื่นไส้ อาเจียน มันเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เพราะฉะนั้น มันค่อนข้างยากที่จะบอกว่าเป็นอาการของหลอดเลือดสมอง แต่ก็ต้องบอกว่าอาการปวดศีรษะ อาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการนำของการเกิดภาวะของหลอดเลือดผิดปกติในสมอง

การรักษา
ทุกคนก็ทราบดีว่าเวลามันเกิดความเสียหายขึ้นในสมองแล้ว โอกาสที่เราจะกลับมาเหมือนเดิมเรียกว่ามันค่อนข้างยาก เพราะว่ามันขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ขนาดของเลือดที่ออก หรือขนาดของตำแหน่งของสมองที่เสียหาย ขนาดของสมองที่ขาดเลือด ตำแหน่งที่มีการเสียหายของสมอง อันนี้จะเป็นตัวแปรที่จะทำให้เราบอกได้ว่าคนไข้จะกลับมาได้แค่ไหน

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ เวลามันมีการเสียหายของระบบประสาทหรือสมองเกิดขึ้นแล้ว มันเกิดขึ้น ณ วินาทีนั้นเลย ที่มีการฉีกขาดหรือมีการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง เพราะฉะนั้น โอกาสที่คนไข้จะกลับมาเหมือนเดิมเลย มันก็ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย

แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องรักษา และวิธีการรักษา เราก็ต้องจัดการในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัวของคนไข้เอง เบาหวาน ความดัน โรคไต โรคหัวใจ ถัดมาก็คือปัญหาที่ตัวสมองเอง เราจะสามารถควบคุมการอักเสบของสมองไม่ว่าจะเป็นจากการที่สมองขาดเลือด หรือมีเลือดออกในสมองได้อย่างไร และหลังจากนั้นแล้ว ถ้าคนไข้รอดชีวิตมาแล้ว การฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาหรือพอที่จะขยับแขนขา หรือลดการกดทับของร่างกายได้นี่ อันนี้ต้องปฏิบัติ ต้องทำต่อไป

การป้องกัน
วิธีการป้องการดีที่สุด ง่ายที่สุดและลงทุนน้อย คือ
1.ต้องไม่สูบบุหรี่ สำหรับเรื่องแอลกอฮอล์ ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็ยิ่งดี
2.การควบคุมโรคพื้นฐานที่เราเรียกว่า โรคที่ไม่ติดต่อ เบาหวาน ความดัน โรคไต ภาวะโภชนาการเกิน ถ้าเราสามารถควบคุมตรงนี้ได้ เราก็สามารถป้องกันภาวะผิดปกติของหลอดเลือดในสมองได้
3.หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางกลุ่มที่มีโอกาสทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองผิดปกติ เช่น ยาที่กระตุ้นให้กระปรี้กระเปร่า หรือยาที่ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว แม้แต่ยาคุมกำเนิด วิตามินบางชนิดก็อาจจะทำให้เกิดภาวะผิดปกติของหลอดเลือดในสมองได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราสามารถหลีกเลี่ยงหรือใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เราก็จะสามารถลดโอกาสในการเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองได้
ผศ. น.ท. นพ.สรยุทธ ชำนาญเวช
สาขาประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
---------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ

LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6

​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments



Leave a Reply.

    Picture
© 2018 Proudly powered by LoveRenal
  • Home
  • About us
  • สาระน่ารู้
  • ถาม-ตอบ
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะก่อนล้างไต
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะล้างไตแล้ว
  • เคล็ดลับน่ารู้
  • Contact