👉 ไต เป็นอวัยวะภายในที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ มี 2 ข้าง อยู่บริเวณหน้ากล้ามเนื้อหลังของร่างกายที่บั้นเอวทั้ง 2 ข้าง มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว ขนาดยาว 12 – 14 เซนติเมตร ในไตแต่ละข้างจะมีหน่วยของไตข้างละ 1 ล้านหน่วยไตมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1.ไตมีหน้าที่ทำให้เลือดสะอาด โดยการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกายและน้ำส่วนเกิน ไตจะกรองของเสียและน้ำออกจากเลือดขับออกทางปัสสาวะ ของเสียหรือสารที่ไตจำกัดได้แก่ ยูเรีย หรือบียูเอ็น (BUN) ครีอะตินิน (Creatinine) และกรดยูริค 2.ไตทำหน้าที่รักษาระดับเกลือแร่ในเลือดให้เป็นปกติ เกลือแร่เหล่านี้ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต 3.สร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดแดง ควบคุมความดันโลหิต และสร้างวิตามินดี ซึ่งช่วยให้กระดูกแข็งแรง โรคไตเรื้อรัง คือ การที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือมีการทำงานของไตน้อยลง อาการของโรค : ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะกลางคืนบ่อย อาจจะมีอาการปวด กดบุ๋ม คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มีขีดความดันโลหิตสูง ลมหายใจมีกลิ่นปัสสาวะ พบความผิดปกติของตะกอนในปัสสาวะ พบการทำงานของไตน้อยลงติดต่อกันนาน 3 เดือน อัลตร้าซาวด์พบขนาดของไตมีขนาดเล็กลง การแบ่งระยะของโรคไตเรื้อรังเป็นตัวบอกความรุนแรงของโรคไต แบ่งเป็น 5 ระยะ ได้แก่ -โรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 ไตยังทำงานปกติแต่ตรวจพบความผิดปกติของไต เช่น ปัสสาวะมีตะกอนผิดปกติ ไตทำงาน > 90% (เริ่มตรวจพบการผิดปกติ) -โรคไตเรื้อรังระยะที่ 2 ไตยังทำงาน เหลือ 60 – 90% หรือไตทำงานเหลือประมาณ 3 ใน 4 ส่วนใน (ไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น) -โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ไตยังทำงาน เหลือ 30 – 60% หรือไตทำงานประมาณครึ่งหนึ่งของคนปกติ (ไตเรื้อรังระยะปานกลาง) -โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 ไตยังทำงาน เหลือ 15 – 30% หรือไตทำงานประมาณ 1 ใน 4 ส่วน (ไตเรื้อรังเป็นมาก) -โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ไตยังทำงาน เหลือน้อยกว่า 15% (ไตทำงานระยะสุดท้ายก่อนฟอกเลือด) ก่อนฟอกไต แนวทางการป้องกันและชะลอความเสื่อมของไต - ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ที่130/80มม.ปรอท - ควบคุมระดับน้ำตาลให้ต่ำกว่า 120 มก. ต่อ เดซิลิตร และ HbA1c < 6.5% - ถ้ามีโรคเกาต์อย่าให้เกาต์กำเริบ - หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดกระดูก ยาหม้อ และยาลูกกลอน - งดสูบบุหรี่ - ควบคุมน้ำหนักตัว และออกกำลังกาย - รับประทานโปรตีน หรือเนื้อสัตว์ในสัดส่วนที่พอเหมาะ เลี่ยงอาหารเค็ม และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง - การเลือกใช้ยาลดความดัน แนวทางการบริโภคสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรัง 1. จำกัดการรับประทานสารอาหารโปรตีน โปรตีนคือ สารอาหารที่จำเป็นในการเสริมสร้าง และซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้ร่างกาย เหตุผลที่จำกัดโปรตีนเพราะ ไตเป็นแหล่งกำจัดของเสีย ร่างกายเผาผลาญโปรตีน ถ้ากินโปรตีนมากก็จะมีของเสียผ่านไตมาก ไตทำงานหนักมากขึ้น โปรตีนมีใน เนื้อสัตว์ ข้าวแป้ง ผัก ผลไม้ - เนื้อสัตว์เป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูงกว่าอาหารหมู่อื่น ๆ (เนื้อสัตว์ 1 ส่วน (30 กรัม) = 2 ช้อนโต๊ะ ให้โปรตีน 7 กรัม) และควรกินโปรตีนที่มีคุณภาพดีอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของโปรตีนที่ได้รับทั้งวัน - โปรตีนที่มีคุณภาพดี ร่างกายจะนำเอาโปรตีนไปใช้ได้อย่างเต็มที่ทำให้มีของเสียเกิดขึ้นน้อย ไตจะไม่ทำงานหนักมาก อาหารโปรตีนคุณภาพดี ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ นม และผลิตภัณฑ์จากนม โดยไข่แดงควรงด เมื่อมีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง และการบริโภคโปรตีนควรบริโภคตามที่แพทย์กำหนด ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ โคเลสเตอรอลต่ำ และไม่ผ่านการแปรรูป เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู-ไม่ติดมัน ควรหลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ อาหารหมักดองเช่น แหนม ปลาส้ม ปลาเค็ม ปูเค็ม เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น หมูแฮม ไส้กรอก กุนเชียง เนื้อสัตว์ที่มีไขมันปริมาณมาก การคำนวณโปรตีนที่ควรบริโภคต่อวัน ต้องคำนวณจากน้ำหนักตัวที่น่าจะเป็น (กก.) X ระดับกรัมโปรตีนที่แพทย์กำหนด วิธีการคำนวณน้ำหนักตัวที่น่าจะเป็น ส่วนสูง = (ซม.) – 100 ในเพศชาย ส่วนสูง = (ซม.) – 105 ในเพศหญิง ปริมาณโปรตีนที่ควรบริโภคตามน้ำหนักตัว น้ำหนักตัว จำกัดโปรตีนต่ำ จำกัดโปรตีนต่ำมาก (กก.) (กรัมโปรตีน/วัน) (กรัมโปรตีน/วัน) 40 24 – 32 12 – 16 45 27 – 36 13.5 – 18 50 30 – 40 15 - 20 55 33 – 44 16.5 - 22 60 36 – 48 18 – 24 2. จำกัดโซเดียม เกลือโซเดียมมีอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด และเป็นเกลือแร่ที่มีความสำคัญมากสำหรับร่างกาย มีบทบาทในการรักษาสมดุลน้ำ และความดันของเลือด ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังแนะนำให้ผู้ป่วยจำกัดเกลือ ซอสปรุงรส ในอาหาร และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารหมักดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม กุนเชียง เป็นต้น •ปริมาณโซเดียมที่ควรบริโภคใน 1 วัน = 2,000 มิลลิกรัม 3. จำกัดโปแตสเซียม โปแตสเซียม คือเกลือแร่ที่มีอยู่ในเลือด ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหด และคลายตัวของกล้ามเนื้อ ถ้าร่างกายมีโปแตสเซียมคั่งในเลือดมากอาจเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและมีผลทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ และหัวใจหยุดเต้นได้ เกลือโปแตสเซียมมีมากในผัก และผลไม้บางชนิดจึงควรงดบริโภค ผักสีเข้ม ๆ เช่น คะน้าผักกวางตุ้ง แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ ฯลฯผลไม้ที่ควรงดบริโภค เช่น กล้วย ทุเรียน ฝรั่ง ขนุน มะละกอ ลูกเกด ลูกพรุน ผลไม้แห้ง ฯลฯ ควรเลือกบริโภคผักที่มีโพแทสเซียมต่ำและควรลวก หรือต้มผักให้สุก เช่น ฟักเขียวสุก แตงกวา บวบสุก ผักกาดขาวปลีสุก ถั่วฝักยาวสุก ถั่วงอกสุก เป็นต้น และควรเลือกบริโภคผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น ลองกอง ชมพู่ เงาะ แอปเปิ้ล องุ่น มังคุด แตงโม เป็นต้น 4. จำกัดฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัส คือ แร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อความแข็งแรงของกระดูก ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรจำกัดการกินอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงเนื่องจากร่างกายขับฟอสฟอรัสได้น้อย ทำให้เกิดการคั่งของฟอสฟอรัสในเลือด ซึ่งมีผลเสียต่อกระดูก เพราะร่างกายจึงดึงแคลเซียมออกจากกระดูก ทำให้กระดูกหัก กระดูกพรุนได้ง่าย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ ไข่แดง นม และผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเมล็ดแห้ง เบียร์ เบเกอรี่ ช็อคโกแลต ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีสีเข้มควบคู่กับการกินอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพอ 5. จำกัดน้ำ ที่ต้องจำกัดน้ำเนื่องจากความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้เป็นโรคไตเรื้อรังจะลดลงทำให้มีอาการบวมน้ำ และมีความดันโลหิตสูงขึ้น ถ้ามีอาการบวมน้ำ ให้ดื่มน้ำไม่ควรเกินวันละ 750 –1,000 ซีซี หรือ 3 – 4 แก้วต่อวัน 6. พลังงาน ควรได้รับพลังงานจากอาหารให้เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่มีการเผาผลาญมากกว่าการสร้าง ไขมันส่วนใหญ่ควรเป็นไขมันที่มาจากพืช ควรใช้น้ำมันรำข้าว และน้ำมันถั่วเหลืองในการปรุงอาหาร หลีกเลี่ยงไขมันจากเนื้อสัตว์ กะทิ และอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง และควรใช้แป้งโปรตีนต่ำ หรือปลอดโปรตีนในการเพิ่มพลังงานเช่น สาคู วุ้นเส้น ผู้ป่วยโรคไตถ้าไม่ได้เป็นเบาหวาน สามารถรับประทานขนมหวานได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงขนมหวานที่ไม่ใส่กะทิ หรือขนมอบที่มีเนย หรือเนยแข็ง ถ้าผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือดยังสูงอยู่ ควรเลี่ยงขนมหวานจัดซึ่งมีน้ำตาลมาก 24 – 32 กรัมโปรตีน/วัน หลังฟอกไต การฟอกไต เป็นการนำเอาน้ำและของเสียออกจากเลือดของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สำหรับความถี่ในฟอกไตของผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับวิธีการฟอกไต ปัจจุบันการฟอกไตมี 2 แบบ ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการฟอกไตที่แผนกไตเทียมของโรงพยาบาล หรือ คลินิคฟอกไต สัปดาห์ละ 2-4 ครั้ง และการฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร (Continuous Peritoneal Dialysis) ผู้ป่วยจะต้องฟอกไตด้วยตนเองที่บ้านทุกวัน วันละ 4 รอบ ซึ่งแม้ว่าการฟอกไตทั้งสองแบบจะเป็นไปเพื่อการรักษาผู้ป่วย แต่ก็สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ขึ้นได้ ดังนั้นผู้ป่วยและคนใกล้ชิดจึงควรมีหลักปฏิบัติหลังการฟอกไต เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว ผลข้างเคียงที่เกิดหลังการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม เป็นการนำเลือดออกจากเส้นเลือดดำผ่านเส้นทางพิเศษที่แพทย์ผู้เชียวชาญด้านโรคไตจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย เลือดดำจะถูกนำผ่านไปยังตัวกรองเพื่อฟอกของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายผู้ป่วย จากนั้นจึงนำเลือดที่มีของเสียและน้ำในปริมาณที่เหมาะสมกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยอีกครั้งทางหลอดเลือดดำ การฟอกไตวิธีนี้ ผู้ป่วยจะมีแผลหรือทางเปิดของหลอดเลือดดำเพื่อนำเลือดออกไปฟอกผ่านตัวกรอง ขณะทำการฟอกเลือด ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นหลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อาจพบว่าผู้ป่วยบางรายมีภาวะเลือดออกง่าย หยุดยาก นอกจากนี้แล้วยังมีผลข้างเคียงที่อาจพบได้อื่นๆ เมื่อกลับไปบ้าน เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเกิดจากการกำหนดปริมาณการดึงของเสียและน้ำออกจากร่างกายผู้ป่วยไม่เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยในขณะนั้น ควรแจ้งให้แพทย์และพยาบาลทราบเพื่อปรับเปลี่ยนปริมาณการดึงของเสียและน้ำออกจากร่างกายผู้ป่วยในปริมาณที่เหมาะสมในครั้งต่อไป อาการเลือดออกเพียงเล็กน้อยเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม กรณีผู้ป่วยที่ได้รับการทำเส้นเลือดเทียมที่แขนเพื่อเป็นทางออกของเลือดจากหลอดเลือดดำ เมื่อเสร็จสิ้นการฟอกเลือด พยาบาลจะใช้ม้วนผ้าก๊อซกดปิดบริเวณที่แทงเข็มและปิดพลาสเตอร์ไว้ ถ้ามีเลือดซึมจากแผล ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าก๊อซ (หรือหากไม่สามารถหาผ้าก๊อซได้ให้ใช้ผ้าสะอาด) กดบริเวณที่แทงเข็มประมาณ 15-30 นาที ถ้าเลือดไม่หยุด หมายถึงเลือดออกผิดปกติ ให้ผู้ป่วยรีบกลับไปโรงพยาบาลเดิมที่ทำการฟอกไต หรือไปโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว กรณีผู้ป่วยที่ได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดระหว่างการฟอกไต หลังฟอกไตแล้วอาจยังเหลือผลตกค้างของยาอยู่ สังเกตได้จากอาการเขียวช้ำที่ผิวหนัง หลักการดูแลตัวเองหลังฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม เมื่อฟอกไตเสร็จเรียบร้อยแล้วกลับไปที่บ้าน ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวดังนี้
ผลข้างเคียงที่เกิดหลังการฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวรการฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร เป็นวิธีการฟอกไตโดยใช้เยื่อบุภายในช่องท้องของผู้ป่วยเป็นตัวกรองของเสีย น้ำ และแลกเปลี่ยนเกลือแร่และกรดด่าง ผู้ป่วยจะเป็นผู้ปล่อยน้ำยาเข้าสู่ช่องท้อง โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ผ่านทางรูเปิดบริเวณผิวหนังที่แพทย์คาสายล้างไตทางช่องท้องไว้ จากนั้นค้างน้ำยาไว้ในท้องเป็นเวลา 4-8 ชั่วโมง เมื่อครบเวลา น้ำยาล้างไตที่มีของเสียอยู่จะถูกปล่อยออกจากช่องท้อง และถูกแทนที่ด้วยน้ำยาใหม่ที่เติมเข้ามา ดังนั้น ผลข้างเคียงที่เกิดหลังการฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวรที่สำคัญจึงได้แก่ การติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่คาดสายล้างไตทางช่องท้องเอาไว้ กับอาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หลักการดูแลตัวเองหลังฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวรการฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร ผู้ป่วยจะเป็นผู้ให้การดูแลตนเองเป็นหลัก และแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาพบเพื่อติดตามอาการ ทุก 2-4 เดือน นอกจากผู้ป่วยจะปฏิบัติตนตามขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันและลดโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่คาสายล้างไตทางช่องท้องและเยื่อบุช่องท้องแล้ว ยังควรจะปฏิบัติดังนี้
---------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ) หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6 “สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน” “Love Renal” - รักไต
0 Comments
Leave a Reply. |