LoveRenal
  • Home
  • About us
  • สาระน่ารู้
  • ถาม-ตอบ
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะก่อนล้างไต
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะล้างไตแล้ว
  • เคล็ดลับน่ารู้
  • Contact

การออกกำลังกายที่บ้านสำหรับผู้เป็นโรคไตเรื้อรัง (Kidney exercise)

7/23/2018

0 Comments

 
“Love Renal”- หลักในการออกกำลังกายที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ❤️
Picture
📌 ความถี่ (Frequency) 
ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 - 5 วันต่อสัปดาห์ หรือหยุดติดต่อกันไม่เกิน 2 วัน หรือขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย

📌 ความหนักในการออกกำลังกาย (Intensity)
สำหรับผู้เริ่มออกกำลังกายควรใช้ระดับที่เบาก่อน เมื่อร่างกายปรับสภาพได้ค่อยเพิ่มไปสู่ระดับปานกลาง ผู้ป่วยโรคไตควรออกกำลังกายไม่เกินระดับเหนื่อยปานกลาง ไม่ออกกำลังกายจนเหนื่อยและล้ามาก อาจใช้การประเมินจากการรับรู้ความรู้สึกเหนื่อย
​
📌 ระยะเวลาในการออกกำลังกาย (Time)        
โดยประมาณคือ 20 - 45 นาที
✔️ ช่วงที่ 1 อบอุ่นร่างกาย  
เป็นการออกกำลังกายเพื่อเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อและข้อต่อให้เคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำให้บาดเจ็บได้ง่าย ควรปฏิบัติอย่างช้าๆ ไม่กระตุก หรือกระชาก ประมาณ 5-10 นาที
⚫️ ท่าที่ 1 ยืดกล้ามเนื้อต้นคอด้านหน้า
นั่งบนเก้าอี้ลำตัวตรง นิ้วโป้งดันบริเวณคางเงยขึ้นมองเพดาน ให้รู้สึกตึงบริเวณต้นคอด้านหน้า ค้างไว้ 10 - 15 วินาที
         

⚫️ ท่าที่ 2 ยืดกล้ามเนื้อต้นคอด้านหลัง
นั่งบนเก้าอี้ลำตัวตรง ประสานมือจับบริเวณศีรษะด้านหลัง กดลงเบาๆ ให้รู้สึกตึงบริเวณต้นคอด้านหลัง ค้างไว้ 10 - 15 วินาที
          

⚫️ ท่าที่ 3 ยืดกล้ามเนื้อต้นคอด้านข้าง
นั่งบนเก้าอี้ลำตัวตรง ใช้มือจับศีรษะด้านตรงข้ามแล้วดึงโน้มมาด้านนั้นเบาๆ ให้รู้สึกตึงบริเวณต้นคอด้านข้าง ค้างไว้ 10 - 15 วินาที ทำสลับกันทั้งสองข้าง
         

⚫️ ท่าที่ 4 ยืดกล้ามเนื้อสะบักและหัวไหล่
นั่ง
บนเก้าอี้ลำตัวตรง มือประสานเหยียดแขนตรงไปด้านหน้าค้างไว้ 10 - 15 วินาที

⚫️ ท่าที่ 5 ยืดกล้ามเนื้อแขนส่วนปลาย
นั่ง
บนเก้าอี้ลำตัวตรง เหยียดแขนตรงไปด้านหน้า ตั้งฝ่ามือขึ้น ใช้มืออีกข้างค่อยๆ ดึงมือเข้าหาตัว ค้างไว้ 10 - 15 วินาที หลังจากนั้นคว่ำฝ่ามือลง แล้วใช้มืออีกข้างค่อย ๆ ดึงมือเข้าหาตัว ค้างไว้ 10 - 15 วินาที
          

⚫️ ท่าที่ 6 ยืดกล้ามเนื้อน่อง
ยืนลักษณะเท้านำเท้าตาม ขาด้านหน้างอ ให้เข่างอไม่เลยปลายเท้า ขาด้านหลังเหยียดตรง ส้นเท้าติดพื้น ค้างไว้ 10 - 15 วินาที จากนั้นทำสลับข้างกัน


⚫️ ท่าที่ 7 ยืดกล้ามเนื้อลำตัวด้านข้าง
ยืนกางขาเล็กน้อย มือประสานกัน เหยียดแขนขึ้นเหนือศีรษะ โน้มตัวไปด้านข้าง ค้างไว้ 10 -15 วินาที จนรู้สึกตึงบริเวณลำตัวด้านข้าง จากนั้นทำสลับข้างกัน
          
✔️ ช่วงที่ 2 การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
เป็นการออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน เพื่อเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง กระชับได้สัดส่วน ทำให้มีความคล่องตัวและทรงตัวได้ดี
⚫️ ท่าที่ 1 บริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า
นั่งหลังตรงชิดพนักเก้าอี้ ค่อยๆ เหยียดขาไปด้านหน้า กระดกปลายเท้าเข้าหาตัวค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง จากนั้นทำสลับข้างกัน ทำซ้ำ 3 ชุด


⚫️ ท่าที่ 2 บริหารกล้ามเนื้อสะโพกด้านหน้าและด้านหลัง
ยืนตัวตรงมือจับพนักเก้าอี้ เตะขาไปด้านหน้าช้าๆ โดยให้ขาเหยียดตรง จากนั้นเตะขาไปด้านหลังช้าๆ ทำ 10 - 15 ครั้ง จากนั้นทำสลับข้างกัน ทำซ้ำ 3 ชุด
          

⚫️ ท่าที่ 3 บริหารกล้ามเนื้อน่อง
ยืนตัวตรงจับพนักเก้าอี้ แยกขาเล็กน้อย จากนั้นค่อยๆ เขย่งปลายเท้าขึ้น-ลง ช้าๆ ทำ 10 - 15 ครั้ง ทำซ้ำ 3 ชุด
         

⚫️ ท่าที่ 4 บริหารกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้าโดยใช้ยางยืด
นั่งตัวตรง เท้าทั้ง 2 ข้างเหยียบยางยืด มือทั้ง 2 ข้างจับปลายยางยืดให้มั่นคง แขนแนบชิดลำตัว จากนั้นออกแรงงอศอกดึงยางยืดขึ้นมาช้า ๆ แล้วผ่อนกลับมาที่ท่าเริ่มต้น ทำ 10 - 15 ครั้ง ทำซ้ำ 3 ชุด
                               

⚫️ ท่า 5 บริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่โดยใช้ยางยืด
นั่งตัวตรงทับยางยืดไว้ มือจับปลายยางยืดให้มั่นคง เหยียดแขนไปด้านข้างลำตัว จากนั้นออกแรงดึงยางยืดขึ้นไปด้านข้างลำตัวช้าๆ ให้ถึงระดับหัวไหล่ แล้วผ่อนกลับมาที่ท่าเริ่มต้น ทำ 10 - 15 ครั้ง ทำซ้ำ 3 ชุด
          

⚫️ ท่าที่ 6 กางแขน-เหยียดแขน
นั่งหลังตรงกางแขนขึ้นระดับไหล่ งอศอกตั้งฉาก จากนั้นเหยียดแขนมาด้านหน้า ทำต่อเนื่อง 1 นาที
          

⚫️ ท่าที่ 7 กางแขน-ยกแขน
นั่งหลังตรง กางแขนขึ้นระดับไหล่ งอศอกตั้งฉาก จากนั้นยกแขนขึ้นด้านบน ทำต่อเนื่อง 1 นาที
          

⚫️ ท่าที่ 8 ยกขาสลับ
นั่งหลังตรงมือจับเก้าอี้ จากนั้นยกขาสลับกัน ทำต่อเนื่อง 1 นาที
          
✔️ ช่วงที่ 3 คลายกล้ามเนื้อ
โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและข้อต่อแต่ละส่วน สามารถใช้ท่าในช่วงที่ 1 อบอุ่นร่างกาย  ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
  1. เสริมสร้างให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ
  2. เพิ่มหรือคงความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
  3. ควบคุมความดันโลหิต
  4. ช่วยเพิ่มอัตราการนำไขมันไปใช้ (ลดคอเลสเตอรอล และไตรกีเซอไรด์)
  5. ช่วยให้นอนหลับดี
  6. ช่วยควบคุมน้ำหนัก
  7. ลดภาวะซึมเศร้าและความกังวล
  8. ช่วยลดระดับความต้านทานอินซูลิน
  9. เสริมสร้างระบบหัวใจและหลอดเลือด
  10. เสริมสร้างการทำงานของไต ตับ และระบบย่อยอาหาร
​อ่านเพิ่มเติม 👉 https://goo.gl/M9QA7J
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ

LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6

​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments



Leave a Reply.

    Picture
© 2018 Proudly powered by LoveRenal
  • Home
  • About us
  • สาระน่ารู้
  • ถาม-ตอบ
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะก่อนล้างไต
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะล้างไตแล้ว
  • เคล็ดลับน่ารู้
  • Contact