LoveRenal
  • Home
  • About us
  • สาระน่ารู้
  • ถาม-ตอบ
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะก่อนล้างไต
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะล้างไตแล้ว
  • เคล็ดลับน่ารู้
  • Contact

ไหวไหม? ถามไตเธอดู

1/24/2021

0 Comments

 
Love Renal - ไหวไหม? ถามไตเธอดู 
Picture
จะเลือกกินอะไร ดูปริมาณโซเดียมที่ไตรับไหวด้วย
รู้ไหมว่า คนไทยกินเค็มมากไปจนเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึง 22.05 ล้านคน
ในหนึ่งวันเราควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,200 มิลลิกรัม หรือเท่ากับ เกลือ 1 ช้อนชา

ไตไหว หรือ ไตวาย ?
ข้าวหมูแดง 1 จาน (220 กรัม) มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 41% หรือ 820 มิลลิกรัม
โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง (25 กรัม) มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 45 % หรือ 900 มิลลิกรัม
ข้าวกระเพราหมูสับ 1 จาน (250 กรัม) มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 60% หรือ 1,200 มิลลิกรัม
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง (55 กรัม) มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 60% หรือ 1,500 มิลลิกรัม
ปลากระป๋อง 1 กระป๋อง (93 กรัม) มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 41% หรือ 820 มิลลิกรัม
ส้มตำปูปลาร้า 1 จาน (250 กรัม) มีปริมาณโซเดียมเฉลี่ย 114% หรือ 2,280 มิลลิกรัม
**หมายเหตุ 100% = โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม

ถ้ายังสงสารไต ลด ละ เลิก อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป และเริ่มทำอาหารกินเองแบบปรุงน้อยๆบ้าง ด้วยความห่วงใยและห่วงไตนะ
​--------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ
LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6
​​
​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments

โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไต

1/20/2021

0 Comments

 
Love Renal - โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไต
ไต เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญกับร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะไตทำหน้าที่ควบคุมสมดุล น้ำ เกลือแร่ ความเป็นกรด-ด่าง การกรองของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตเพิ่มขึ้นหลายราย สาเหตุอาจจะมาจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ การพักผ่อนไม่เพียงพอ และมีการกลั้นปัสสาวะอยู่บ่อยครั้ง หรือการรับประทานอาหารรสเค็มเกินไป ซึ่งการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและถูกหลักโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคไต
​--------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ
LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6
​​
​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments

โรคไตเรื้อรัง

1/17/2021

0 Comments

 
Picture
Love Renal - ​โรคไตเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease, CKD) คือ สภาวะที่ไตถูกทำลายมานานกว่า 3 เดือน และไม่สามารถกรองเลือดได้ตามปกติ และเป็นโรค “เรื้อรัง” เนื่องจากการทำลายที่ไตของท่านเกิดขึ้นอย่างช้าๆเป็นระยะเวลานานการทำลายนี้อาจทำให้เกิดของเสียสะสมในร่างกาย นอกจากนี้โรคไตเรื้อรังยังเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆอีกด้วย สามารถตรวจได้จาก
1. ความผิดปกติทางพยาธิวิทยาจากการตรวจชิ้นเนื้อไต
2. การตรวจปัสสาวะ
3. GFR ต่ำกว่า 60 ml./min/1.73
m2 เป็นเวลานานกว่า 3 เดือน
 (GFR คือ อัตราการกรองของไต ซึ่งคนปกติมีค่า 125 ml./min/1.73
m2)

ปัจจัยเสี่ยงของโรคไตเรื้อรัง
1.ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป เนื่องจากสมรรถภาพไตเสื่อม
2.อาชีพ / อุบัติเหตุ เช่น นักมวย อาจถูกต่อย ถูกเตะ บริเวณไต
3.ผู้ที่มีโรคเหล่านี้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคนิ่ว โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
4.มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคไต
5.ความอ้วน มีระบบเผาผลาญสูงกว่าคนปกติ ทำให้เกิดของเสียต่างๆ มีผลให้ไตต้องรับภาระมากขึ้น
6.ผู้ได้รับสารพิษจากยา เช่น ยาแก้ปวดข้อบางชนิด ยาสมุนไพร หรือได้รับสารแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไต
--------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ
LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6
​​
​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments

อาการโรคไต เรื่องที่มักเข้าใจผิด

1/12/2021

0 Comments

 
Picture
Love Renal - ปัสสาวะเป็นฟองบอกถึง “โรคไต” ได้จริงหรือ?
ปัสสาวะเป็นฟอง บอกถึง “โรคไต” ได้จริงหรือ?
คนมักจะเชื่อว่า ถ้าเป็นไตวายต้องมีภาวะปัสสาวะเป็นฟอง ซึ่งความเชื่อดังกล่าวเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะคนที่เป็นโรคไตวาย อาจจะมีปัสสาวะเป็นฟองหรือไม่เป็นฟองก็ได้ แต่ทั้งนี้ หากอาการปัสสาวะเป็นฟองเกิดจากโรคไต อาจมีสาเหตุจากการมีโปรตีนรั่วออกจากเส้นเลือดฝอยของไต แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้ เช่น การติดเชื้อหรือแม้แต่หลังการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับโรคไต ดังนั้น คนที่กลัวว่าตนเองจะเป็นโรคไต ควรไปตรวจปริมาณโปรตีน(หรือไข่ขาว) ที่รั่วออกมาในปัสสาวะ เพราะเชื่อถือได้ดีกว่า การคอยสังเกตดูปัสสาวะของตนเองว่าเป็นฟองหรือไม่
​
​**
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.ดร.นพ.พัฒนา เต็งอำนวย คลินิกโรคไต โรงพยาบาลพญาไท2 
--------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ
LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6
​​
​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments

ทานยาเยอะๆ “ไตเสื่อม” จริงหรือ?

1/10/2021

0 Comments

 
Picture
Love Renal - ​ทานยาเยอะๆ “ไตเสื่อม” จริงหรือ?
"โรคไตเรื้อรัง" ส่วนหนึ่งนั้นเกิดจากการที่ไม่ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ และความเชื่อที่ว่ากินยามากๆจะทำให้เกิดโรคไตนั้น ไม่ได้หมายความว่ายาทุกชนิดที่ทานไปจะมีผลต่อการทำงานของไต ดังนั้นควรใช้ยาอย่างเหมาะสม โดยอย่างแรกคือลดปริมาณการใช้ยาที่ไม่จำเป็น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่รับประทานอยู่ว่า ซ้ำซ้อนกันหรือมีผลต่อการทำงานของไตหรือไม่ ก่อนที่จะซื้อยามารับประทานเอง และไม่ควรซื้อยามารับประทานเองอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ และมาตรวจติดตามผลการรักษาเป็นประจำ
เพียงเท่านี้ ไต ก็จะอยู่ให้ร่างกายเราพร้อมใช้ไปตลอดชีวิต
 
4 ควร 4 ไม่ ถนอมไตจากการใช้ยา
 
✅ รับประทานยารักษาโรคประจำตัวอย่างต่อเนื่อง
✅ สอบถามวิธีการใช้ยาประจำตัวให้เข้าใจ
✅ แจ้งแพทย์ทุกครั้งหากมีโรคประจำตัว
✅ มีรายชื่อยาที่ใช้อยู่เป็นประจำพกติดตัว

❎ ไม่ควรหยุดยาเอง
❎ ไม่ควรรับประทานยาชุด
❎ ไม่หลงเชื่อคำโฆษณายาเกินจริง
❎ ไม่ควรรับประทานของผู้อื่นโดยเชื่อว่าจะใช้ได้ผลดีเหมือนกันกับเรา
 
**ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

--------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ
LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6
​​
​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments

อาการโรคไต เรื่องที่มักเข้าใจผิด

1/7/2021

0 Comments

 
Picture
Love Renal - อาการโรคไต เรื่องที่มักเข้าใจผิด 
อาการโรคไต เรื่องที่มักเข้าใจผิด

Q: "เจ็บเอว" ไม่ใช่อาการชี้ชัดโรคไตอย่างที่คิด

A: เมื่อพูดถึงโรคไต คนส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นโรคร้ายแรงถึงชีวิต แต่อันที่จริงโรคไตที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อที่กรวยไต มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการแรกก็คือ ปัสสาวะบ่อย แสบขัด หากทิ้งไว้นานไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคก็จะลุกลามไปยังไต ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้สูงเจ็บเอวข้างใดข้างหนึ่ง จึงเป็นที่มาของความเชื่อผิดๆว่า หากป่วยเป็นโรคไตต้องมีอาการเจ็บเอว ทั้งที่จริงแล้ว คนไข้โรคไตวายส่วนใหญ่ไม่ได้มีอาการเจ็บเอว ในขณะที่คนไข้ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บเอวส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อ ไม่ได้มีปัญหาของโรคไตแต่อย่างใด

**ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.ดร.นพ.พัฒนา เต็งอำนวย คลินิกโรคไต โรงพยาบาลพญาไท2 
--------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ
LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6
​​
​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments

ดื่มน้ำน้อย เสี่ยงนิ่วในไต

1/5/2021

0 Comments

 
Picture
Love Renal - ดื่มน้ำน้อย เสี่ยงนิ่วในไต
การดื่มน้ำน้อย อาจทำให้มีความเสี่ยงที่แร่ธาตุจะตกตะกอนกลายเป็นก้อนนิ่วได้มากกว่าคนที่ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ผู้ที่บริโภคอาหารที่อาจมีสารก่อนิ่ว เช่น การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ออกซาเลต ฟอสเฟต และกรดยูริกสูง รวมถึงการรับประทานโปรตีน น้ำตาล และเกลือสูงเกินไป ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดก้อนนิ่วในไต
รู้หรือไม่ว่า เพศชายเสี่ยงเป็นนิ่วในไตมากกว่าเพศหญิง ถึง 3 เท่า
สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคนิ่วในไต
1. ดื่มน้ำน้อย หรือร่างกายสูญเสียเหงื่อมาก
2. เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเมตาบอลิค
3. การใช้ยารักษาโรคบางชนิด ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ
4. โรคเก๊าต์ หรืออาหารเสริมบางชนิด
5. รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารรสเค็ม

อาการโรคนิ่วที่ไต
1.ปวดบริเวณหลังหรือช่องท้องด้านใดด้านหนึ่ง
2.นิ่วอุดตันเฉียบพลัน ปวดบีบอย่างรุนแรงเป็นช่วงๆ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีปัสสาวะเป็นเลือด

วิธีป้องกัน
1.ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
2.ลดการทานเค็มและอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อ เครื่องใน ยอดผัก


**ขอขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข

--------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ
LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6
​​
​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments

กินเค็มเกิดโรคอะไร? EP.1

1/3/2021

0 Comments

 
Picture
Love Renal - กินเค็มเกิดโรคอะไร? EP.1
​เกลือ คือสารประกอบทางเคมีที่เรียกว่า “โซเดียมคลอไรด์” คนทั่วไปมักจะเรียก “เกลือแกง” โซเดียมเป็นแร่ธาตุธรรมชาติที่ร่างกายต้องการ และร่างกายไม่สามารถผลิตโซเดียมได้เอง จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ปริมาณโซเดียมที่คนปกติทั่วไปควรได้รับในแต่ละวัน ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน และคนที่เสี่ยงความดันโลหิตสูง ไม่ควรเกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
​
หากได้รับโซเดียมมากเกินไปในแต่ละวันจะทำให้เกิดโรค
1.ความดันโลหิตสูง
2.โรคหัวใจวาย
3.โรคอัมพาต อัมพฤกษ์
4.โรคไตวาย

**ขอขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 
--------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ
LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6
​​
​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments

รู้หรือไม่ ภาวะปฏิเสธไตมีอาการอย่างไร?

12/28/2020

0 Comments

 
Picture
Love Renal - รู้หรือไม่ ภาวะปฏิเสธไตมีอาการอย่างไร?
ภาวะปฏิเสธไตหรือการสลัดไต สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานยากดภูมิคุ้มกันหลังปลูกถ่ายไตไม่สม่ำเสมอ
​
เนื่องจากร่างกายจะรู้สึกว่ามีสิ่งแปลกปลอม จึงพยายามสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น เพื่อทำลายไต ที่ทำการปลูกถ่าย ผู้ได้รับการปลูกไตใหม่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาว หากผู้ได้รับการปลูกถ่ายไตไม่รับประทานยากดภูมิคุ้มกันอย่างสม่ำเสมอ อาจทำให้ร่างกายมีการต่อต้านไตได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจและปฏิบัติตนอย่างเข้มงวดทุกขั้นตอน

--------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ
LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6
​​
​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments

รู้หรือไม่ ไตวายเรื้อรังมีอาการอย่างไร?

12/26/2020

0 Comments

 
Picture
Love Renal - รู้หรือไม่ ไตวายเรื้อรังมีอาการอย่างไร?
ไตวายเรื้อรังมีอาการอย่างไร?
ภาวะไตวายโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง เช่น คนไข้มีอาการความดันโลหิตต่ำอยู่ในภาวะช็อกนาน ๆ หรือคนไข้ที่เสียเลือดมาก ๆ แต่ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถรักษาให้ไตกลับมาทำงานปกติได้ ส่วนภาวะไตวายเรื้อรังนั้นเป็นโรคที่มีการทำลายของเนื้อไตอย่างช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง จนไตไม่สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ
​
อาการในช่วงต้นจะไม่ค่อยแสดงอาการ อาจตรวจพบว่าไตทำงานแย่ลงจากการตรวจเลือด จนเมื่อไตเสียการทำงานไปกว่าครึ่ง ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการบวมหรือมีความผิดปกติ ดังนั้น การตรวจคัดกรองตั้งแต่ช่วงต้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะทำให้สามารถป้องกันหรือรักษาให้ไตไม่แย่ลงไปกว่าเดิมได้
--------
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ
LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6
​​
​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต
0 Comments
<<Previous
    Picture
© 2018 Proudly powered by LoveRenal
  • Home
  • About us
  • สาระน่ารู้
  • ถาม-ตอบ
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะก่อนล้างไต
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะล้างไตแล้ว
  • เคล็ดลับน่ารู้
  • Contact