LoveRenal
  • Home
  • About us
  • สาระน่ารู้
  • ถาม-ตอบ
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะก่อนล้างไต
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะล้างไตแล้ว
  • เคล็ดลับน่ารู้
  • Contact

เบาหวานลงไต

8/10/2018

0 Comments

 

“Love Renal”- ทำอย่างไร ไม่ให้...เบาหวานลงไต?

Picture

💉ระวัง !!! เบาหวานลงไต
​

โรคยอดฮิต ติดกระแส ที่ผู้ใหญ่วัย 40ปี ขึ้นไป มักป่วยกัน ก็คงหนีไม่พ้น “โรคเบาหวาน” อันเกิดจากภาวะ และสภาพการณ์ที่เร่งรีบของคนเมือง และพฤติกรรมการบริโภค เช่น ทานอาหารฟาสต์ฟู้ดส์ อาหารที่มีไขมันสูง อาหารหวานมัน และขาดการออกกำลังกาย ทำให้มีแนวโน้มของผู้ป่วยเบาหวานมีสูงมากขึ้นทุกวัน แต่ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ต่างๆ ทำให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง รวมทั้งควบคุมโรคได้ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ก็มีผู้ป่วยอีกหลายคนที่ไม่ดูแลตนเอง จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานได้ โดยที่จะกล่าวนี้ คือ “โรคไตจากภาวะเบาหวาน”

       พญ. เครือวัลย์ แก้วสุทธิ อายุรแพทย์ ประจำศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลลานนา ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ “โรคไตจากภาวะเบาหวาน” ว่า โรคเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญของโรคไต ทำให้ไตไม่สามารถกรองของเสียในเลือดได้ดีเท่าที่ควร ของเสียจึงสะสมในร่างกาย ขณะเดียวกันโปรตีนหรือสารอาหารที่ควรอยู่ในกระแสเลือด ก็รั่วออกไปในปัสสาวะทำให้ในระยะแรกเอง ผู้ป่วยโรคไตจากเบาหวาน มักจะไม่มีอาการใดๆ หากปล่อยไว้จนกระทั้งไตเสื่อมมาก จึงจะเกิดอาการของไตวาย เป็นผลทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องล้างไต
หรือเปลี่ยนไต เพื่อรักษาชีวิตต่อไป


        สัญญาณอันตรายจากภาวะเบาหวานลงไต 
เมื่อไตของเราเริ่มทำหน้าที่ผิดปกติแล้ว ผู้ป่วยมักจะมีอาการอาการซีด บวม โดยอาจบวมที่เท้าก่อน แล้วค่อยๆ ลามไปทั้งตัว ความดันโลหิตสูง มีอาการคันตามตัว เบื่ออาหาร น้ำหนักลด จนถึง ระยะสุดท้ายจะอ่อนเพลีย ชาตามปลายเท้า ปลายมือ คลื่นใส้ อาเจียน จนถึงหมดสติในที่สุด โดยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานลงไต ได้แก่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเกิน 
10 ปี และไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดในปริมาณที่เหมาะสมได้ ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีประวัติป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีพันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่เคยเป็นภาวะเบาหวานลงไต


        แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่ากำลังเข้าสู่ภาวะเบาหวานลงไต … 
สามารถตรวจได้จากการมีไข่ขาวหรือโปรตีนอัลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะมากกว่าปกติ ซึ่งระยะเริ่มแรกนี้ไม่สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจปัสสาวะแบบธรรมดา ต้องตรวจด้วยวิธีพิเศษ โดยการตรวจหาไมโครอัลบูมินในปัสสาวะ ในคนปกติจะขับอัลบูมินออกมาในปัสสาวะไม่เกิน 
30 มิลลิกรัม/วัน ผู้ที่เป็นเบาหวานลงไตในระยะแรกจะมีอัลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะตลอดเวลา
อยู่ในช่วง 
30-300 มิลลิกรัม/วัน ในระยะนี้ถ้าตรวจเลือดอาจไม่พบสิ่งผิดปกติที่แสดงให้เห็นว่าไตเสื่อม และยังไม่มีอาการผิดปกติอะไรที่แสดงออกมาว่าเป็นโรคไต จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญมาก เพราะการควบคุมระดับน้ำตาล และอาหารโปรตีนจะช่วยชะลอการดำเนินโรคของภาวะเบาหวานลงไตได้ 
ทางที่ดีแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจโปรตีนในปัสสาวะเป็นประจำในทุกๆ ปี และทานยาตามคำสั่งแพทย์ การควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือด รวมทั้งการปรับพฤติกรรมต่างๆ ที่มีความเสี่ยง เช่น ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมอาหาร และมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง 
อ้างอิงบทความ:Lanna Hospital Chiang Mai,Thailand
รอฟังเคล็ดลับสุขภาพดีๆเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่นะจ๊ะ
LINE ID : @LoveRenal (มี @ ด้วยนะคะ)
หรือ Click : https://goo.gl/whQ3g6

​“สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการเลือกรับประทาน”
“Love Renal” - รักไต

​
0 Comments



Leave a Reply.

    Picture
© 2018 Proudly powered by LoveRenal
  • Home
  • About us
  • สาระน่ารู้
  • ถาม-ตอบ
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะก่อนล้างไต
  • เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยระยะล้างไตแล้ว
  • เคล็ดลับน่ารู้
  • Contact